ในเศรษฐกิจโลกของเรา ผู้บริโภคคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกทั้งในร้านขายของชำและร้านค้าปลีก สินค้านำเข้าจากต่างประเทศเหล่านี้มักมีราคาถูกกว่าการผลิตในประเทศ หรือเป็นสินค้าที่หาได้ยากในประเทศ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตามสินค้าบางประเภทที่มาจากประเทศต่าง ๆ ต้องมีการขอ อย. สินค้านำเข้าให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทต่าง ๆ อย่าง ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และ อาหาร
อย. สินค้านำเข้าสำคัญอย่างไร?
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าและรวดเร็ว สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้สื่อออนไลน์ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพจะต้องยื่นคำขอนำเข้า ณ ด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนนำเข้า เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ เพื่อบริโภคเอง ใช้เฉพาะตัว หรือเป็นตัวอย่างในการพิจารณาสั่งซื้อ จะต้องยื่นคำขอนำเข้า ณ ด่านอาหารและยา ทุกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ขอ อย. สินค้านำเข้าประเภท ยา
ผลิตภัณฑ์ยา คือ ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัยบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค ป้องกันความเจ็บป่วยของมนุษย์ หรือสัตว์ รวมทั้งเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายมนุษย์ หรือสัตว์
การขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทยาจากต่างประเทศ มีวิธีการดังนี้
- ยื่นขอใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร
- ยื่นขอ License per Invoice (LPI)
- จัดทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาที่มีการนำเข้าสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและเอกสาร ดังนี้
- ใบขนสินค้า/ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- บัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือใบตราส่งสินค้า
- ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI)
- หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา
- ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร
- ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา
- ใบวิเคราะห์และใบแปลใบวิเคราะห์
- แบบ น.ย.ด. และรายการแนบท้าย น.ย.ด.
- ตัวอย่างยาที่นำเข้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา
- แบบ ข.2 กระทรวงพาณิชย์ (กรณีเป็นสินค้านำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์)
ขอ อย. สินค้านำเข้าประเภท เครื่องมือแพทย์
อุปกรณ์การแพทย์ได้รับการตรวจสอบโดยแผนกพิเศษของอย. อุปกรณ์การแพทย์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ IVD กลุ่มที่สองคือ Non-IVD โดยรวบรวมเอกสารสำคัญ เช่น ISO13485 หรือ Coding และ Name of Global Medical Device Nomenclature (GMDN) เพื่ออธิบายและแสดงอุปกรณ์การแพทย์อย่างถูกต้องและแม่นยำ
การขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ มีวิธีการดังนี้
- ยื่นขอจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์
- ยื่นขออนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์
- ยื่นขอ License per Invoice (LPI)
- จัดทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาที่มีการนำเข้าสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและเอกสาร ดังนี้
- ใบขนสินค้า/ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- บัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือใบตราส่งสินค้า
- ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI)
- หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา
- ตัวอย่างเครื่องมือแพทย์ที่นำเข้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา
ขอ อย. สินค้านำเข้าประเภท เครื่องสำอาง
เครื่องสำอางมี 2 ประเภทขึ้นอยู่กับส่วนผสม เครื่องสำอางควบคุม : ต้องแจ้งอย. ถึงรายการส่วนผสมก่อนออกสู่ตลาด โดยปกติจะใช้เวลา 1วัน เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ : หากมีส่วนผสมควบคุมเป็นพิเศษ ต้องยื่นขอใบอนุญาตเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์นี้ อาจใช้เวลาถึงหนึ่งเดือน
การขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทเครื่องสำอางจากต่างประเทศ มีวิธีการดังนี้
- ยื่นขอใบรับจดแจ้งกับกลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
- ยื่นขอ License per Invoice (LPI)
- จัดทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาที่มีการนำเข้าสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและเอกสาร ดังนี้
- ใบขนสินค้า/ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- บัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือใบตราส่งสินค้า
- ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI)
- หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา
- ตัวอย่างเครื่องสำอางที่นำเข้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา
ขอ อย. สินค้านำเข้าประเภท อาหาร
อาหารแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อาหารควบคุมพิเศษ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่มีฉลากที่กำหนดไว้ การขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทนี้มีอัตราสูงที่สุดในบรรดาสินค้านำเข้า ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลา ควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เช่น ฉลาก ผลการวิเคราะห์ สูตร 100% การรับรองโรงงาน GMP, ISO 22000 และปฏิบัติตามโปรโตคอล CODEX
การขอ อย. สินค้านำเข้าประเภทอาหารจากต่างประเทศ มีวิธีการดังนี้
- ยื่นขอใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรกับกองอาหาร
- ยื่นขอเลขสารบบอาหาร หรือเลขเสมือนสำหรับอาหารทั่วไป
- ยื่นขอ License per Invoice (LPI)
- จัดทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาที่มีการนำเข้าสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและเอกสาร ดังนี้
- ใบขนสินค้า/ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- บัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือใบตราส่งสินค้า
- ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI)
- หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา
- ตัวอย่างอาหารที่นำเข้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา
หากท่านอยู่ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดอื่น ๆ สามารถติดต่อ เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด เรารับจดอย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลากว่า 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้า โดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ทั้งเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และคำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com