ทำไมต้องเช็กเลข อย.

ปัจจุบันสินค้าอุปโภคบริโภคจากบริษัทต่าง ๆ ได้มีการแข่งขัน นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทก์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด กระตุ้นยอดขายด้วยการโฆษณาทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเพียงคำกล่าวอ้างที่เกินจริง ทั้งนี้ผู้บริโภคที่หลงเชื่ออาจนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้ 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกแบบเว็บไซต์สำหรับการเช็กเลข อย. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์ที่สุด โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการขอ อย. และสามารถเช็กเลข อย. ได้ นั้นถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

ในบทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงความสำคัญของ อย. ว่าคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร รวมทั้งวิธีปกป้องสิทธิผู้บริโภคด้วยการเช็กเลข อย. 

เครื่องหมาย อย. หมายถึง

เครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้องตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิตหรือการนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  

ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

ประกอบด้วยอาหารแปรรูปหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำไปถึงสูง เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มีการกำหนดคุณภาพ และการควบคุมเฉพาะ ดังนั้น ต้องขออนุญาตเกี่ยวกับสถานที่ผลิต และต้องไปขอ อย. หรือจดแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด

เลข อย. หมายถึง

เลข อย. คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร จะมีตัวเลข 13 หลักแสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. ถูกนำมาใช้แทนตัวอักษรและตัวเลขซึ่งอยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย. แบบเดิม ซึ่งเลขสารบบอาหารนี้จะระบุข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานที่ และข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารครบถ้วนมากกว่าในอดีต ช่วยให้เจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบง่ายขึ้น 

เลข อย. ประกอบด้วยเลข 13 หลัก แสดงกึ่งข้อมูล 2 ชุด ได้แก่

  • ชุดข้อมูลชุดแรก (X) คือ ข้อมูลสถานที่ประกอบการ ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลักแรก
  • ชุดข้อมูลชุดหลัง (V) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยตัวเลข 5 หลักหลัง

หลักที่ 1 แสดงถึง 

  • จังหวัดที่ตั้งของสถานที่ประกอบการนั้น ๆ
  • ใช้รหัสตัวเลข 2 หลัก แทนอักษรย่อ เช่น 12 แทนจังหวัด

หลักที่ 2 แสดงถึงสถานะของสถานที่ประกอบการและหน่วยงานที่อนุญาตสถานที่นั้น ๆ

  • ใช้รหัสตัวเลข 1 หลัก 
  1. หมายถึงสถานที่ผลิต อนุญาตโดย อย. (เลขคี่)
  2. หมายถึงสถานที่ผลิต อนุญาตโดย จว. (รวม กทม.) (เลขคู่)
  3. หมายถึงสถานที่นำเข้า อนุญาตโดย อย. (เลขคี่)
  4. หมายถึงสถานที่นำเข้า อนุญาตโดย จว. (รวม กทม.) (เลขคู่)

หลักที่ 3 แสดงถึง

  • เลขประจำสถานที่ได้จากเลขที่ใบอนุญาต ผลิตอาหารหรือเลขที่ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหาร หรือเลขที่ประจำสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน (แล้วแต่กรณี) ที่ได้รับอนุญาตแล้ว 
  • ใช้รหัสตัวเลข 5 หลัก โดย 2 หลักหลังเป็น เลขท้ายของปี พ.ศ. ที่อนุญาตสถานที่ดังกล่าว


หลักที่ 4 แสดงถึง

  • หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างจากหน่วยงานที่อนุญาตสถานที่ก็ได้ใช้รหัสตัวเลข 1 หลัก
  1. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นอนุญาตโดย อย.
  2. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นอนุญาตโดย จว. (รวม กทม.)

หลักที่ 5 แสดงถึง 

  • เลขลำดับที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของสถานที่นั้น ๆ ที่ผ่านการอนุญาตจากหน่วยงานที่ประเมินผลิตภัณฑ์ ข้างหน้า (ตาม 4)  เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก 
  • ใช้รหัสตัวเลข 4 หลัก เช่น ลำดับที่ 1 ใช้ 0001 ลำดับที่ 99 ใช้ 0099

วิธีเช็กเลข อย.

การเช็กเลข อย. สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีการขอ อย. หรือเลขที่จดแจ้งหรือไม่ นอกจากนี้ยังเช็กได้อีกว่าเครื่องหมาย อย.ที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ เป็นเลขจริงที่เชื่อถือได้หรือไม่ ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ “ตรวจสอบการอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข”
  2. กรอกเลขรหัสในเครื่องหมาย อย. เลขที่ใบจดแจ้ง เลขทะเบียนตำรับยา (มีหรือไม่มีขีดก็ได้) หรือชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตรวจสอบ ลงในช่องค้นหา
  3. หากผลิตภัณฑ์ที่ค้นหามีการได้รับอนุญาตจาก อย.อย่างถูกต้อง เว็บไซต์จะแสดง ประเภทผลิตภัณฑ์ ใบสำคัญ (เลข อย.) ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ ชื่อผู้รับอนุญาต Newcode (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์) และสถานะของผลิตภัณฑ์

 

หากเช็กเลข อย. แล้วไม่ปรากฏข้อมูล อาจหมายถึงผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีเลข อย.ปลอม ทั้งนี้หากพบความไม่ถูกต้องของข้อมูลผลิตภัณฑ์ ให้ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สายด่วน 1556 หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือมาร้องเรียนได้ที่ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัด สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ของตนเอง

ผู้ประกอบการท่านใดไม่สะดวกในการขอ อย. ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด รับจดอย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com

บทความอื่น ๆ

  • All Post
  • ไม่มีหมวดหมู่
การขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด
27/09/2024

ก่อนจะสามารถจำหน่ายตามท้องตลาดได้นั้นต้องมีการขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเสียก่อน ซึ่งวิธีการขอ อย. จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

ขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร
27/08/2024

ารปฏิบัติตามขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มเหล่านี้ จะช่วยให้การขอ อย. เป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการควรทำการศึกษา

บริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด
ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข
มาเป็นเวลา 5 ปีทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย.

ติดต่อเรา

© 2022 by ขออย.com. All right reserved.