สินค้านำเข้า ขอ อย. ยากไหม

ผู้ประกอบการจำนวนมาก มีแหล่งผลิตสินค้าอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ยุโรป อเมริกา หรือต้องการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา วิตามิน อาหารเสริม เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที เป็นต้น

เหตุผลที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกที่จะนำเข้าสินค้าเนื่องจากมีเอกลักษณ์และคุณภาพดี ในราคาที่สามารถทำกำไรได้ แต่สินค้าบางกลุ่มต้องทำการ ขอ อย. ก่อนจึงจะจำหน่ายได้ สินค้าเหล่านั้นได้แก่

  • อาหาร เช่น น้ำดื่ม น้ำมันพืช อาหารสำเร็จรูป ที่อยู่ในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท
  • เครื่องมือแพทย์ต้องมีใบอนุญาต เช่น ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับสำหรับศัลยแพทย์ คอนเทคเลนส์
  • เครื่องมือแพทย์ต้องมีใบอนุญาต เช่น ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับสำหรับศัลยแพทย์ คอนเทคเลนส์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกัน กำจัดหรือไล่แมลงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน

ผู้ประกอบการบางท่านยังไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการขอ อย. สินค้านำเข้า จึงมีความกังวลว่าจะขอ อย. ยากไหม ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสาร และดำเนินการอย่างไรบ้าง ผู้เขียนจึงได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการขอ อย. สินค้านำเข้าแบบเข้าใจง่าย ดังนี้

กฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า

1- ของต้องห้าม หมายถึง ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้

  • วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ
  • สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
  • ยาเสพติดให้โทษ
  • เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลง เหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
  • สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
  • สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

2- ของต้องกำกัด หมายถึง สินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย ตัวอย่างสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า

สถานที่ขอ อย.

การขอใบอนุญาต อย. สามารถติดต่อขอได้ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center : OSSC), สำนักงานสารณสุขจังหวัด (สสจ.) และยื่นคำขออนุญาตทางอินเทอร์เน็ต (E-Submission) ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สะดวกในการเดินเอกสารหรือมีความกังวลว่าจะขอ อย. ยากไหม dHสามารถใช้บริการจากบริษัทรับจดอย. เพื่อดำเนินการแทนได้

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นคำขอต่อ อย.

  • ผู้นำเข้าต้องยื่น แบบคำขออนุญาตนำเข้าสินค้าชนิดนั้น ๆ โดยสามารถคลิกและพิมพ์แบบคำขอได้จาก กองด่านอาหารและยา 
  • เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์การนำเข้า
  • เตรียมบัญชีราคาสินค้า (Invoice) หรือใบตราส่งสินค้า (Air Waybill/ Bill of Lading/ Notification to Collect International Postal Items)
  • เตรียมสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนแสดงวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • กรณีดำเนินการแทน ให้แนบหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • เอกสารเพิ่มเติมประกอบการยื่นขอ อาจมีความแตกต่างกันตามประเภทของสินค้า
  • เอกสารทุกใบต้องลงลายมือชื่อจริงทุกฉบับ
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สายด่วน อย. โทร. 1556 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.

*กรณีนำเข้าเครื่องสำอาง ต้องมีสถานที่เก็บสินค้า เอกสารของผู้ผลิต เช่น ส่วนผสม และใบรับรองต่าง ๆ ก่อนไปขอ อย.

สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้ประกอบการที่มีอำนาจลงนาม หรือผู้ที่รับผิดชอบ พร้อมประทับตราบริษัท

ดังนั้นคำถามที่ว่า สินค้านำเข้า ขอ อย. ยากไหม จึงมีคำตอบว่าไม่ยากและก็ไม่ง่าย หากต้องการลดการทำงานเรื่องการจัดการเอกสาร สามารถให้บริษัทที่มีประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนมาดำเนินการแทนได้ ติดต่อปรึกษา บริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด เรารับจดอย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com

บทความอื่น ๆ

  • All Post
  • ไม่มีหมวดหมู่
การขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด
27/09/2024

ก่อนจะสามารถจำหน่ายตามท้องตลาดได้นั้นต้องมีการขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเสียก่อน ซึ่งวิธีการขอ อย. จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

บริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด
ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข
มาเป็นเวลา 5 ปีทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย.

ติดต่อเรา

© 2022 by ขออย.com. All right reserved.