ความสำคัญของเครื่องหมาย อย.

 หลายคนยังคงกังวลว่าอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ปลอดภัยต่อตัวเราจริงหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการหาเครื่องหมาย อย. บนผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เนื่องจากบริษัทที่ต้องการผลิตอาหาร  เครื่องสำอาง หรือสิ่งต่าง ๆ ต้องทำเรื่องขอ อย. เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าของผู้ประกอบการ 

ดังนั้นผู้บริโภคและผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องหมาย อย. ในบทความนี้กล่าวถึงบทบาทของเครื่องหมาย อย. พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ครอบคลุมและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง

เครื่องหมาย อย. คือะไร?

เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้องตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิต หรือการนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  

อย. คืออะไร?

อย. ย่อมาจาก “สำนักงานอาหารและยา” (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการปกป้อง คุ้มครองผู้บริโภคผ่านการรับรองความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บริโภคภายในการจัดส่ง ได้แก่ อาหาร ยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารเสพติด เครื่องมือแพทย์ สารระเหย เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่มีจำหน่ายในประเทศ จะต้องดำเนินการตามกฎหมายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศ

บทบาทและความรับผิดชอบขององค์การอาหารและยาอาจแบ่งออกเป็นห้าส่วนหลัก

  1. การควบคุมก่อนการวางตลาด
    ซึ่งรวมถึงการควบคุมโรงงานผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะออกสู่ตลาด ในแต่ละกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  2. การควบคุมหลังการขาย
    จุดมุ่งหมายของกิจกรรมนี้คือการตรวจสอบโรงงานผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าปฏิบัติตามมาตรฐานที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้ ตลอดจนกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ 
    ตัวอย่างเช่น มีการตรวจสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอและนำไปตรวจสอบความสอดคล้องและคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านี้จะถูกตรวจซ้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อยืนยันความสอดคล้องของมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาผ่านไป
  3. โครงการเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
    จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการตรวจหาผลเสียหรือผลที่คาดไม่ถึงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ข้อมูลการวิจัยและระบาดวิทยาเกี่ยวกับผลกระทบ รวมถึงข้อมูลทางเทคนิคจะถูกรวบรวม สรุป ตีความ และรายงาน 
  4. การศึกษาผู้บริโภค
    ผู้บริโภคจะได้รับข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้องเพื่อให้พวกเขาสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างชาญฉลาด การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวซึ่งจัดทำโดยองค์การอาหารและยาสามารถหาได้จากหลายแหล่ง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ อินเทอร์เน็ต และสื่ออื่น ๆ ที่มีอยู่ การรณรงค์ขององค์การอาหารและยาในหัวข้อสำคัญได้ดำเนินการเป็นประจำในห้างสรรพสินค้า โรงเรียน และหมู่บ้านในหลายส่วนของประเทศ มีแหล่งข้อมูลมากมายสำหรับผู้บริโภคที่จะใช้เพื่อให้พวกเขาสามารถได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมและอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการป้องกันตนเอง
  5. การสนับสนุนทางวิชาการและความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ
    อย. ได้จัดสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการที่น่าสนใจมากมาย โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ในทางกลับกันก็มีการส่งเจ้าหน้าที่จาก อย. ไปร่วมประชุมสัมมนาทั้งในและต่างประเทศ เป็นผลให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่บ้าน โปรแกรม Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จกับองค์กรอื่น ๆ 

การขึ้นทะเบียนขอเครื่องหมาย อย.

สำหรับสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตในการผลิตจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารไม่แปรรูปหรือเป็นการแปรรูปอย่างง่าย มีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือมีคนงานน้อยกว่า 7 คน สามารถผลิตและจำหน่ายได้ในชุมชน แต่ต้องผ่านการผลิตที่ถูกต้องตามกระทรวงสาธารณสุข เช่น การผลิตโดยการผ่านความร้อนและการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ไม่มีสารที่เป็นอันตรายเจือปน
  2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารแปรรูปหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำไปถึงสูง เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มีการกำหนดคุณภาพ และการควบคุมเฉพาะ ดังนั้น ต้องขออนุญาตเกี่ยวกับสถานที่ผลิต และต้องไปขอ อย. หรือจดแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด

หลักฐานสำคัญสำหรับขอรับหนังสือรับรอง อย.

  1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) 
  2. จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตทุกแห่ง 
  3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิต พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่ 
  4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

สถานที่ยื่นคำขอ

  1. กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
  2. กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ

สำหรับใครที่ต้องการขอ อย. อาหาร ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด รับจด อย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com

บทความอื่น ๆ

  • All Post
  • ไม่มีหมวดหมู่
การขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด
27/09/2024

ก่อนจะสามารถจำหน่ายตามท้องตลาดได้นั้นต้องมีการขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเสียก่อน ซึ่งวิธีการขอ อย. จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

ขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร
27/08/2024

ารปฏิบัติตามขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มเหล่านี้ จะช่วยให้การขอ อย. เป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการควรทำการศึกษา

บริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด
ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข
มาเป็นเวลา 5 ปีทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย.

ติดต่อเรา

© 2022 by ขออย.com. All right reserved.