ขอ อย. สถานที่ผลิตอาหาร

ในปัจจุบันการขอ อย. สถานที่ผลิตอาหาร ต้องใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ในการผลิต (GMP : Good Manufacturing Practices) พิจารณาอนุณาตสถานที่ผลิตอาหาร เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกำจัดหรือลดอันตรายให้เหลือน้อยที่สุด องค์การอาหารและยาจึงได้ระบุข้อกำหนดนี้ครอบคลุมถึงสารก่อภูมิแพ้ในอาหารและการควบคุมสุขอนามัย เนื่องจากอาหารจัดอยู่ในประเภทอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 

การขอ อย. อาหารได้นั้น ส่วนนึงต้องมีเอกสารของสถานที่ผลิตอาหาร เพื่อให้องค์การอาหารและยาเข้าตรวจสอบ และทำการประเมิน ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ในการพิจราณา คือ GMP

GMP คืออะไร?

GMP หรือ Good Manufacturing Practice เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ซึ่งสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาของไทยนำเอาหลักเกณฑ์มาตรฐาน ในการขอ อย. โดยมีหัวข้อประกอบทั้งหมด 6 หัวข้อ ดังนี้

  1. สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต
  3. การควบคุมกระบวนการผลิต
  4. การสุขาภิบาล
  5. การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด
  6. บุคลากร

มีรายละเอียดเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 (พ.ศ.2543) เรื่อง วิถีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร

GMP ประเภทต่างๆ มีอะไรบ้าง?

มาตรฐาน GMP แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก

  • สุขอนามัยทั่วไป (General GMP) – หลักเกณฑ์ที่ใช้กับอาหารทุกประเภท เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตและการจัดการวัสดุอย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
  • เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) – ข้อกำหนด (นอกเหนือจาก GMP ทั่วไป) ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น โลชั่นทาผิวจะมีข้อกำหนด GMP เฉพาะที่แตกต่างกันไปสำหรับอาหารที่บริโภค

GMP ครอบคลุมพื้นที่ใดบ้าง?

GMP เป็นคำที่ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงงานและการผลิต เป้าหมายสูงสุดขอ อย. สถานที่ผลิตอาหาร คือ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารเคมีหรือจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์บริโภคที่ผลิตขึ้น สิ่งนี้ทำได้โดยการตรวจสอบทุกจุดของโรงงาน ตั้งแต่ตัวโครงสร้างไปจนถึงการจัดเก็บวัตถุดิบสำหรับการผลิต

  • ที่ตั้งโรงงาน สถานที่ผลิต
  • ตัวอาคาร โครงสร้างอาคาร
  • เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมด
  • ควบคุม จัดการ และจัดเก็บวัตถุดิบ
  • การบรรจุ การควบคุมคุณภาพ
  • โลจิสติกส์ สำหรับการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค
  • การตรวจสอบคุณภาพและบันทึกข้อมูล
  • ระบบการจัดการสุขาภิบาลและสุขอนามัย

GMP มีประโยชน์อย่างไร?

จุดสำคัญของ GMP คือสุขภาพ ความปลอดภัย และความพึงพอใจของผู้บริโภคปลายทาง ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิตเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่เมื่อปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ต่อไปนี้เป็นประโยชน์หลัก 10 ประการของคุณภาพ GMP

  1. ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภคในที่สุด
  2. GMP ให้แนวทางการผลิตที่ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ตรงตามมาตรฐานคุณภาพการขอ อย.
  3. ลดจำนวนข้อผิดพลาดที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน (ความสอดคล้องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาชื่อเสียงของแบรนด์)
  4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะดวกสบายสำหรับพนักงานในขณะทำงาน
  5. ส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติที่ดี 
  6. เป็นการสร้างระบบที่เรียบง่ายและเป็นมาตรฐานสำหรับการติดตามข้อมูลและสารสนเทศ 
  7. เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการ การกำกับดูแล และการประเมิน
  8. ป้องกันข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาซ้ำ
  9. ปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของการผลิตอาหารทั่วทั้งกระดาน (และลดต้นทุนการผลิต)
  10. ส่งเสริมระบบการควบคุมที่ดีเพื่อให้สถานที่ของคุณสามารถรักษามาตรฐานความสะอาดและสุขอนามัยสูงสุดได้

ขั้นตอนการขอ อย. สถานที่ผลิตอาหาร

ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร (เลขประจําสถานที่ผลิตอาหาร 8 หลัก)แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ใช้แบบ สบ.1 เพื่อได้ใบ สบ.1/1 (ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม น้อยกว่า 50 แรงม้า และ ใช้คนงานน้อยกว่า 50 คน)
  • กรณีเข้าข่ายโรงงาน ใช้แบบ อ.1 เพื่อได้ใบ อ.2 (ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม/กำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือ ใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป) ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมในการต่ออายุทุก 3 ปี

เอกสารประกอบการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร

1.แบบตรวจสอบคำขอและบันทึกข้อบกพร่อง

2.คำขอตรวจประเมินสถานที่

3.แบบ อ.1 หรือ แบบ สบ.1

4.หลักฐานทั่วไปของผู้ขออนุญาตผลิต

5. เอกสารที่เกี่ยวข้องของสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร

  • สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร 
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่(ฉบับจริง) หรือสำเนาสัญญาเช่าสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร (ถ้ามี) แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า (กรณีผู้ยินยอมให้ใช้สถานที่หรือผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา) หรือแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้ยินยอมให้ใช้สถานที่หรือผู้ให้เช่าเป็นนิติบุคคล) 
  • สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงานใหญ่ (ถ้ามี) 


6.แบบแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของสถานที่ผลิต

  • แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ผลิต
  • แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน
  • แบบแปลนแผนผังของอาคารที่ผลิตอาหารและสถานที่เก็บอาหารที่ถูกต้องตามมาตราส่วน(ด้านหน้า,ด้านข้าง,ด้านตัด)และแปลนพื้นทุกชั้น         


7.ภาพถ่ายสถานที่และเก็บอาหาร แสดงให้เห็นพื้นที่ต่างๆทั้งภายในภายนอกอาคารผลิตเป็นไปตามลำดับสายงานผลิตที่จะขออนุญาต ตั้งแต่รับวัตถุดิบ ไปจน ถึงการจัดเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

8.รายละเอียดอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

9.หนังสือมอบอำนาจทั่วไป (ฉบับจริง) กรณีผู้ดำเนินกิจการไม่ได้มาด้วยตัวเอง

10.แสดงตัวอย่างฉลากผลิตภัณฑ์พร้อมคำรับรอง ให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ ดังนี้

  • ชื่ออาหาร
  • เลขสารบบอาหาร
  • ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย
  • น้ำหนักสุทธิ แสดงเป็นระบบเมตริก เช่น กรัม กิโลกรัม
  • ส่วนประกอบที่สําคัญ แจ้งเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยแสดงจากปริมาณมากไปหาน้อย 
  • วันเดือนปีที่ผลิต และ วันหมดอายุ


11.น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

  • สำเนาผลวิเคราะห์น้ำดิบ และผลวิเคราะห์น้ำที่ผ่านเครื่องกรองแล้ว จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน


12.คัดและบรรจุผักหรือผลไม้สดบางชนิด

  • หลักฐานแสดงว่าแหล่งเพาะปลูกมีระบบควบคุมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกที่ปลอดภัย
  • ทะเบียนเกษตรกร
  • ทะเบียนผู้รวบรวม หรือผู้จัดหาผักและผลไม้สด (ถ้ามี)


13. นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยวิธีพาสเจอร์ไรส์

  • หลักฐานแสดงผู้ควบคุมการผลิต


14. อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ)

  • เอกสารวิชาการศึกษาการทดสอบการกระจายความร้อนในเครื่องฆ่าเชื้อ
  • เอกสารวิชาการศึกษาอัตราการแทรกผ่านความร้อนในผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิด แต่ละขนาดบรรจุ เพื่อกำหนดอุณหภูมิ และเวลาในการฆ่าเชื้อ
  • การกำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อด้วนความร้อน
  • หลักฐานแสดงผู้กำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
  • หลักฐานการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิต


15.อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (อาหารปรับสภาพกรด)

  • เอกสารวิชาการศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
  • เอกสารแสดงรายละเอียดอุปกรณ์และวิธีการในการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง- หลักฐานแสดงผู้กำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
  • หลักฐานการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการผลิต
  •  

สำหรับผู้ใดที่ต้องการขอ อย. สถานที่ผลิตอาหาร ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด รับจดอย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com

 ที่มาข้อมูล :

บทความอื่น ๆ

  • All Post
  • ไม่มีหมวดหมู่
การขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด
27/09/2024

ก่อนจะสามารถจำหน่ายตามท้องตลาดได้นั้นต้องมีการขอ อย. เครื่องดื่มบรรจุขวด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเสียก่อน ซึ่งวิธีการขอ อย. จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

ขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร
27/08/2024

ารปฏิบัติตามขั้นตอนการขอ อย. น้ำดื่มเหล่านี้ จะช่วยให้การขอ อย. เป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการควรทำการศึกษา

บริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด
ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข
มาเป็นเวลา 5 ปีทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย.

ติดต่อเรา

© 2022 by ขออย.com. All right reserved.