นื่องจากการนำเข้ายา อาหาร อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง หรือวัตถุทางการแพทย์และวัตถุอันตรายอื่น ๆ เข้ามาในประเทศไทยต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือการจะผลิตเครื่องสำอางขึ้นมาใหม่ก็ย่อมต้องขอ อย เครื่องสำอางก่อน
ดังนั้นในบทความต่อไปนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของเครื่องสำอางที่ต้องจดแจ้ง อย เครื่องสำอาง เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง นำเข้า หรือส่งออกเครื่องสำอางเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
เครื่องสำอางคืออะไร?
เครื่องสำอางตามความหมายของ พระราชบัญญัติ เครื่องสําอาง พ.ศ. 2558 คือ
- วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใด กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกล่ินกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่าง ๆ สําหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
- วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางโดยเฉพาะ
- วัตถุอื่นที่กําหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสําอาง
อย. คืออะไร?
อย. ย่อมาจาก “สำนักงานอาหารและยา” (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการปกป้อง คุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง
เครื่องหมาย อย. คืออะไร?
เครื่องหมายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน โดยผ่านการพิจารณาในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่าย ตรงตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ประเภทของเครื่องสำอาง
เดิมพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 แบ่งประเภทของเครื่องสำอางเป็น 3 ประเภท คือ
1.เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เนื่องจากพิษภัยหรือจากเคมีภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ ให้สังเกต เลขทะเบียนในกรอบ อย. ตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ได้แก่
- ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหมขัดฟันที่มีส่วนผสมของ ฟลูออไรด์
- น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์
- ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม
- ผลิตภัณฑ์ย้อมผมชนิดถาวร
- ผลิตภัณฑ์ฟอกสีผม
- ผลิตภัณฑ์แต่งสีผมที่มีส่วนผสมของ เลดแอซีเทต หรือซิลเวอร์ไนเตรต
- ผลิตภัณฑ์กำจัดขน หรือทำให้ขนร่วง
- เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจเพียงมาแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ดังนั้นเครื่องสำอางควบคุม จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย.
กำหนดเครื่องสำอางควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ
- กำหนดประเภทของเครื่องสำอาง 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่
- ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด
- ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด
- แป้งฝุ่นโรยตัว
- แป้งน้ำ
- กำหนดสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุม จะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่
- สารป้องกันแสงแดด จำนวน 19 ชนิด (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2536 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดด)
- สารขจัดรังแค (ซิงก์ไพริไทโอน และ ไพรอกโทน โอลามีน)
- สารขจัดรังแค (คลิมบาโซล)
3.เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางทั่วไปจะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย. แต่มีข้อกำหนดในการผลิตหรือนำเข้า ดังนี้
- เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องมาแจ้งกับอย. เพียงแต่จัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน (ส่วนข้อความอื่น ๆ บนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)
- เครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการ นำเข้า และจัดทำฉลากภาษาไทยให้มีข้อความอันจำเป็นให้ ครบถ้วนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้าฯ (ส่วนข้อความอื่น ๆ บนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)
แต่ในทางปฏิบัติเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้มีการกำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุมเท่านั้น ส่งผลให้ลดระดับการควบคุมจากเครื่องสำอางควบคุมพิเศษมาเป็นเครื่องสำอางควบคุม และยกระดับจากเครื่องสำอางทั่วไปเป็นเครื่องสำอางควบคุม ทำให้มีระดับการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น เมื่อเป็นเครื่องสำอางควบคุมจะต้องมีการแจ้ง อย เครื่องสำอางตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางควบคุม พ.ศ. 2553
ส่วนพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ก็ยังคงประเภทของเครื่องสำอางเพียงเครื่องสำอางที่ต้องจดแจ้งเท่านั้น
การผลิต การนำเข้าเครื่องสำอาง
ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง ต้องจดแจ้ง อย เครื่องสำอาง และเมื่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้
การส่งออกเครื่องสำอาง
กรณีส่งออกเครื่องสำอางกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางเพื่อการส่งออก เครื่องสำอางนั้นจะมีคุณภาพ มาตรฐาน ฉลาก หรือรายละเอียดอื่น ๆ เป็นตามที่ผู้สั่งซื้อกำหนดก็ได้
นอกจากนี้ต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ห้ามมิให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอางเพื่อการส่งออกขายเครื่องสำอางดังกล่าวในราชอาณาจักร
สำหรับใครที่ต้องการจดแจ้ง อย เครื่องสำอาง ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปีทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ ขออย.com
ที่มาข้อมูล :