สำหรับวัตถุอันตรายประเภทที่เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกัน กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค และผลิตภัณฑ์อุปโภคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต่างก็ต้อง ขอ อย. ด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอันตราย พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากวัตถุอันตรายนั้น ๆ
แล้ววัตถุอันตรายขอ อย. ยากไหม ในบทความนี้มีคำตอบ โดยจะเริ่มอธิบายจากการแบ่งชนิดของวัตถุอันตราย จนถึงกระบวนการในการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
การขออนุญาตเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด ตามความเป็นอันตราย ความเสี่ยง และความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอ อย. วัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่มีสารสำคัญเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ หรือสาร ลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ ยกเว้น Nonylphenol Ethoxylate
- ผลิตภัณฑ์กาว ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม Alkyl Cyanoacrylate
- ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ที่มีสารสำคัญเป็น Calcium Hypochlorite, Sodium Hypochlorite เป็นต้น
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตราย หรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอ อย. วัตถุอันตรายและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
- ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่มี Benzyl Benzoate เป็นสารสำคัญ
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
- ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม Pyrethroids - ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค ที่มีกรด ด่าง หรือสารกลุ่ม Aldehydes เป็นสารสำคัญ เป็นต้น
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
- สาร DDT, Chlordane, Dieldrin, Chlorpyrifos และ Chlorpyrifos-Methyl ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เป็นต้น
การเพิ่มขึ้นของอีคอมเมิร์ซและช่องทางการขายตรงสู่ผู้บริโภคมีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอาหารเสริม ผู้บริโภคซื้ออาหารเสริมทางออนไลน์มากขึ้น เพราะความสะดวก สามารถเปรียบเทียบราคาได้ และการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มองหาความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม นั่นคือ เครื่องหมาย อย.
ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการขอ อย. อาหารเสริม เพื่อเป็นเครื่องหมายในการพิสูจน์ว่าเมื่อผู้บริโภคทานเข้าไปแล้วนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
เอกสารในการขอ อย. วัตถุอันตราย
- แบบคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย(วอ./อก.1)
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมประทับตราและลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนาม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
- เอกสารแสดงข้อกำหนดเฉพาะของวัตถุอันตราย(SPECIFICATION) ครบ 100%
- เอกสารหรือภาพถ่ายแสดงลักษณะภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย
- เอกสารหรือภาพถ่ายแสดงการบรรจุ หีบห่อ หรือผูกมัด(ถ้ามี)
- เอกสารแสดงกระบวนการผลิต(กรณีขอขึ้นทะเบียนผลิต)
- เอกสารแสดงวิธีการป้องกันและระงับอัคคีภัย
- ข้อมูลความปลอดภัย ตามแบบ วอ./อก.3 และ MSDS.(Material Safety Data Sheet)
- อื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาขอเพิ่มเติมได้ตามความในข้อ 6 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางอุตสาหกรรม พ.ศ.2538
ขั้นตอนการขอ อย. วัตถุอันตราย
มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ละเมิดไม่ทำตามกฎระเบียบ โดยไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนไม่ได้ขออนุญาต หรือไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริง เพราะคิดว่าการขอ อย. วัตถุอันตราย เป็นเรื่องยาก จึงแอบจำหน่ายแบบลับ ๆ ทั้งนี้ กฎหมายมีบทลงโทษรุนแรงตามระดับความรุนแรง ของการก่อให้เกิดอันตราย ขอ อย. ไม่ยาก ทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้
- สร้างบัญชีผู้ใช้งานระบบ (OPEN ID) ที่ www.egov.go.th
- ยื่นเอกสารขอเปิดสิทธิ์ใช้งานระบบ e-submission
- ล็อกอินเข้าระบบ e-submission โดยใช้ Username และ Password ที่ได้จากการสมัครOPENID จากนั้นจะเข้าสู่ระบบ e-Submission งานวัตถุอันตรายแล้วดำเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น
เมื่อศึกษาบทความนี้จบแล้ว คุณจะได้รับคำตอบของคำถามที่ว่า ขอ อย. ยากไหม เพียงจัดเตรียมเอกสารและทำตามขั้นตอนตามรายละเอียดด้านบน ก็สามารถช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มโอกาสผ่านในการตรวจสอบ
สำหรับใครที่ต้องการขอ อย. วัตถุอันตราย ทางบริษัท เอฟดีเอ สตอรี่ จำกัด รับจดอย. และให้บริการเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งทางเรามีความชำนาญในเรื่องขอ อย. ให้กับลูกค้าโดยทางเราจะดูแลให้ทั้งหมด ในเรื่องของการยื่นเอกสาร การติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ และให้คำแนะนำ ให้กับลูกค้าได้เข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ขอ อย. เพื่อที่ลูกค้าได้คลายข้อสงสัย ในทุกส่วนของรายละเอียด ทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ เยี่ยมชมผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://ขออย.com
- ที่มาข้อมูล:
- mnfda.fda.moph.go.th